บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บวชป่าและสืบชะตาแม่น้ำลาว

 
ชื่อโครงการ                         บวชป่าและสืบชะตาแม่น้ำลาว
แผนงาน                                ด้านสิ่งแวดล้อม
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ระยะเวลาเริ่มต้นโครงการ  1  ธันวาคม  2552  -  30  กันยายน  2553
สนองกลยุทธ์หลัก               พัฒนาสิ่งแวดล้อม  และแหล่งเรียนรู้
มาตรฐานด้าน                      คุณภาพผู้เรียน  มาตรฐานที่  2  ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ตัวบ่งชี้ที่  2.1                      รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
                                                สิ่งแวดล้อม
ตัวบ่งชี้ที่  2.2                      เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม / โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
หลักการและเหตุผล
                แม่น้ำลาวเป็นแม่น้ำใหญ่  ที่มีต้นน้ำกำเนิดมาจากดอยภูลังกา  และดอยขุนลาวไหลมาบรรจบกันที่หมู่บ้านน้ำมิน  ตำบลแม่ลาว  อำเภอเชียงคำ  จังหวัดพะเยา  นอกจากนั้นสายน้ำยังไหลผ่านมายัง  อำเภอเชียงคำ  อำเภอภูซาง  และอำเภอเทิง  ไหลลงสู่แม่น้ำอิง  แม่น้ำลาวยังเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนในชุมชนหลายหมู่บ้าน หลายอำเภอ  แต่สถานการณ์แม่น้ำลาวในปัจจุบันได้เกิดวิกฤติ  สถานการณ์แม่น้ำลาวแห้งขอด  น้ำไม่สะอาด  แม่น้ำตื้นเขิน  จำนวนปลาลดน้อยลง  มีสิ่งปฏิกูลสารเคมีต่าง ๆ  ปะปนอยู่  สถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้านส่งผลต่อระบบนิเวศน์  ดังนั้นจึงได้ปลุกจิตอาสาให้นักเรียน  และคนในชุมชนช่วยกันอนุรักษ์แหล่งน้ำ  และป่าไม้  โดยทำพิธีการบวชป่า  และสืบชะตาแหล่งน้ำลาว  พิธีบวชป่าสืบชะตาแม่น้ำ  ถือเป็นพิธีสำคัญของคนล้านนา  ยังเป็นการป้องกันการทำลายป่า  ด้วยความเชื่อที่ว่าหากได้ทำพิธีศักดิ์สิทธิ์แล้วจะไปทำลายไม่ได้  และจะสามารถฟื้นฟูป่าสงวนที่ถูกทำลายได้  เป็นการอนุรักษ์แหล่งน้ำลาว  ยังเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับชุมชนที่จะร่วมมือกันป้องกันพิทักษ์รักษาป่าไม้  แหล่งน้ำ  ของชุมชนสืบต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีล้านนา   สร้างความรัก  และหวงแหนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้อุดมสมบูรณ์สืบต่อไป

วัตถุประสงค์
                1.  เพื่อฟื้นฟูสถานภาพแหล่งน้ำและป่าไม้
                2.  เพื่อสร้างความสัมพันธ์ความร่วมมืออันดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน
                3.  เพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของป่า  และแหล่งน้ำ
 
เป้าหมาย
-   เชิงปริมาณ                      นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1- 6  จำนวน  225  รูป
-  เชิงคุณภาพ                      นักเรียนมีความพึงพอใจ  จิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าไม้  แหล่งน้ำ 
และมีจิตอาสาในการร่วมกันดูแลรักษาป่าไม้  แหล่งน้ำร่วมกับชุมชน

สถานที่ดำเนินการ
-                   แหล่งน้ำลาว ป่าขุนน้ำบ้านน้ำมิน  - น้ำลาว  อำเภอเชียงคำ  จังหวัดพะเยา

ขั้นตอนในการดำเนินงาน
-                   ประชุมคณะครูและกรรมการนักเรียน
-                   จัดตั้งคณะทำงานผู้รับผิดชอบ
-                   เตรียมสถานที่
-                   ดำเนินการตามกิจกรรมที่วางไว้

ระยะเวลาในการดำเนินการ
-                   ภายในเดือน  1  ธันวาคม  2552  -  31  มิถุนายน  2553

งบประมาณในการเดินการ
-                   2500    บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.   แหล่งป่าไม้  และแหล่งน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น
2.   ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในโรงเรียน
3.  นักเรียนและคนในชุมชนมีจิตสำนึกและเห็นความสำคัญของแหล่งน้ำ  และป่าไม้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น